หนังหนีตายจากแดนกิมจิ Escape from Mogadishu

‘ฮันชินซอง’ (Kim Yoon-seok) ทูตประจำเกาหลีใต้ประจำเมืองโมกาดิชู ประเทศโซมาเลีย ต้องเผชิญกับการปฏิวัติภายในประเทศ ที่ก่อตัวขึ้นเป็นสงครามกลางเมืองซีรีส์ออนไลน์สุดอันตราย พร้อมกับนำพาทูตเกาหลีเหนือ ‘ริมยงซู’ (Joon-ho Huh) คู่แข่งร่วมชาติที่พลัดหลงเข้ามาในสถานทูตเกาหลีใต้ เขาจึงต้องนำพาครอบครัวและพนักงานของทั้งสองชาติเอาชีวิตรอดจากกลุ่มกบฏ และหนีตายออกจากเมืองโมกาดิชูไปให้ได้ไปให้ได้ ‘Escape from Mogadishu’ หรือในชื่อไทย ‘หนีตาย โมกาดิชู’ เห็นชื่อแปลก ๆ แบบนี้ เป็นหนังเกาหลีใต้ ผลงานการกำกับล่าสุดของของ ‘รยู ซึงวาน’ (Ryoo Seung-Wan) จาก ‘The Berlin File’ (2013) และ ‘The Battleship Island’ (2017) และเมื่อหนังเรื่องนี้เข้าฉายที่เกาหลีใต้เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ก็เป็นหนังที่ทำรายได้ติดอันดับหนึ่งบน Box Office ของเกาหลีใต้ในปี 2021 กวาดคำชมและรางวัลตามเทศกาลต่าง ๆ และที่สำคัญคือ ยังเป็นหนังที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นตัวแทนเข้าชิงรางวัลออสการ์ ปี 2022 อีกต่างหาก

เนื้อเรื่องอ้างอิงและดัดแปลงมาจากเหตุการณ์การหลบหนีภัยสงครามของเจ้าหน้าที่สถานทูตเกาหลีใน ‘โมกาดิชู’ (Mogadishu) เมืองหลวงของประเทศโซมาเลียในช่วงทศวรรษ 1990 ตอนนั้นประเทศเกาหลียังไม่ได้รับการรับรองเข้าเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ แล้วด้วยความที่ประเทศในทวีปแอฟริกานั้นเป็นตัวแทนสำคัญที่จะให้คะแนนโหวตคะแนนว่าจะให้การรับรองหรือไม่ เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้จึงต้องแต่งตั้งทูตเพื่อส่งไปประจำ ณ ประเทศโซมาเลียที่ความเจริญยังเข้าไม่ถึง พร้อม ๆ กับการเดินเกมวางหมากทางการทูตกับรัฐบาลของประธานาธิบดี ‘ไซอัด บาร์รี’ (Siyaad Barre) ทั้งสองฝั่งจึงต้องงัดยุทธวิธีดูหนังออนไลน์ทั้งสะอาดและสกปรกออกมาใช้ทั้งบนโต๊ะและใต้โต๊ะ เพื่อขัดขวางฝ่ายตรงข้ามและสร้างความได้เปรียบให้กับประเทศของตน

แต่ในขณะที่ทั้งสองประเทศกำลังวางหมากสงครามทางการทูต กลับเกิดเหตุจลาจลกลางเมือง โดยมีสภาคองเกรสโซมาเลียเป็นแกนนำเพื่อโค่นล้มรัฐบาลคอมมิวนิสต์ของบาร์รี และออกประกาศกวาดล้างสถานทูตทุกแห่งที่สนับสนุนรัฐบาล ทำให้เมืองโมกาดิชูกลายเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยอันตรายทุกทิศทาง ซ้ำร้าย เมื่อกองกำลังกบฏเดินทางเข้ามายังเมืองเพื่อสนับสนุนการโค่นล้มรัฐบาล ก็ยิ่งซ้ำให้จลาจลกลายเป็นสงครามกลางเมืองที่เต็มไปด้วยห่ากระสุน ‘ฮันชินซอง’ (Kim Yoon-seok) ทูตเกาหลีใต้ประจำโซมาเลีย จึงต้องนำภรรยาและพนักงานทูตหนีตายออกจากโมกาดิชูไปให้ได้ และที่สำคัญ พวกเขาจำต้องให้การช่วยเหลือ ‘ริมยงซู’ (Joon-ho Huh) ทูตเกาหลีเหนือ พนักงานและครอบครัวชาวเกาหลีเหนือ ที่หนีตายพลัดหลงเข้ามาในสถานทูตเกาหลีใต้อีกด้วย

อย่่างที่เห็นว่า บทของหนังเรื่องนี้มันใหญ่มาก แต่ตัวหนังมีบทที่แข็งแรงและสามารถคุมวิธีการเล่าได้ดีมากเลย ในองก์แรก เราจะได้เห็นมันเป็นหนัง Slow Burn ที่ว่าด้วยการเมืองและการทูตล้วน ๆ ได้เห็นแอ็กชันหักเหลี่ยมเฉือนคมด้วยฝีปากและกลโกงทางการทูตล้วน ๆ ซึ่งนอกจากจะทำออกมาไม่น่าเบื่อแล้ว มันยังทำหน้าที่ปูเรื่องให้เห็นภาพรวมเหตุบ้านการเมืองของโซมาเลีย รวมทั้งกลยุทธ์และวิธีทางการทูตของเกาหลีเหนือและใต้ที่เต็มไปด้วยเล่ห์เหลี่ยมและกลเม็ดเด็ดพรายที่แสบกันทั้งสองฝ่าย พร้อมกับแอ็กชันเล็ก ๆ และมุกหน้าตายที่สอดแทรกให้ได้ฮาแบบกรุบกริบรองท้องเป็นระยะ ๆ

จนเมื่อเข้าสู่องก์ที่สอง ที่เริ่มต้นจากเหตุการณ์การปฎิวัติโค่นล้มรัฐบาลโซมาเลีย เหตุการณ์จึงค่อย ๆ ทวีความเดือดมากขึ้น จนเมื่อกลายเป็นสงครามกลางเมือง ก็สามารถถ่ายทอดออกมาได้อย่างสมจริงราวกับสารคดี จริง ๆ มีช็อตที่ผมชอบมากคือ ช็อตสงครามที่ทหารกำลังปราบผู้ชุมนุมด้วยความรุนแรง สถานการณ์ในเรื่องก็เริ่มบีบคั้นจนเครียด เครียดทั้งสถานการณ์ภายนอกที่ไม่รู้จะโดนสอยเมื่อไหร่ เครียดทั้งสถานการณ์ภายในที่สถานการณ์บีบบังคับให้ทูตเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ที่เป็นคู่แข่งคู่แค้นต้องมาอยู่ร่วมกันท่ามกลางสถานการณ์ที่ไม่น่าไว้วางใจ แต่แม้ว่าหนังจะตึงเครียดขั้นสุด แต่ตัวหนังก็ยังใจกล้า สอดแทรกตลกร้ายสไตล์เกาหลี๊เกาหลีแบบถูกจังหวะจะโคนเข้าไปให้ได้ขันขื่นชนิดที่ว่าดูหนังแล้วหัวเราะก็ไม่ได้ ร้องไห้ก็ไม่ออกเลยทีเดียว

และพอถึงไคลแมกซ์ของเรื่อง นี่ต้องเรียกได้ว่าสับตีนแตกเลยครับ เพราะว่าจะเป็นพาร์ตที่ทูตเกาหลีต่างก็ต้องพาพนักงานและครอบครัวของตัวเอง ฝ่าสมรภูมินรกที่เต็มไปด้วยกองกำลังกบฏที่ไม่รู้ว่าจะโผล่มายิงเมื่อไหร่ รวมทั้งทหารของทางการที่พร้อมจะยิงใครก็ได้ที่ไม่น่าไว้วางใจ ซึ่งตัวหนังสามารถถ่ายทอดออกมาได้ลุ้นระทึกมาก ๆ ครับ เรียกว่ายิงกระหน่ำ ชนกระจาย แถมมุมกล้องยังน่าสนใจและแปลกใหม่ด้วย แต่แม้สถานการณ์จะโคตรเครียดและเต็มไปด้วยดราม่าที่หลายคนอาจน้ำตาซึม แต่ก็ยังไม่วาย ใส่มุกมาให้ได้ขำปนเครียดได้อีกต่างหาก ถ้าได้ดูหนังจะอึ้งเลยครับว่า เอ็งกล้าเล่นมุกนี้เลยเชียวเรอะ ?

แม้ว่าตัวหนังเองจะเล่าผ่านสภาวะบ้านเมือง การเมือง และการทูตของประเทศโซมาเลีย รวมทั้งเล่าเรื่องความลำบากลำบนของงานด้านการทูตของทั้งเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ไปพร้อมกัน แต่สิ่งที่ผมมองว่าเป็นสิ่งที่หนังเรื่องนี้พยายามจะสะท้อนก็คือ ภาพสะท้อนของการเมืองและอุดมการณ์ทางการเมือง ที่แม้ว่าเหตุการณ์การปฏิวัติและสงครามกลางเมืองจะเกิดขึ้นที่โซมาเลีย แต่มันก็ดูเหมือนว่าจะกลับมาเป็นกระจกบานใหญ่ที่คอยส่องสะท้อนสถานะความเชื่อและอุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่่างกันและเป็นดั่งเส้นขนานของเกาหลีใต้และเกาหลีเหนืออย่างรุนแรงและชัดเจนสุด ๆ

สำหรับผม หนังเรื่องนี้ถือว่าเป็นการดูหนังเกาหลีที่โคตรแปลกเลย ที่กล้าทำหนังเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การเมืองของประเทศอื่น แต่สามารถสะท้อนเรื่องการเมืองของประเทศตัวเองทั้งสองฝั่งของประเทศได้อย่างแจ่มชัดและเป็นสากลมาก ๆ แถมถ้าสังเกตดี ๆ ก็จะเห็นมุมมองอุดมการณ์ของประเทศผ่านพฤติกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ ของตัวละครด้วย เช่นความพยายามปิดหูปิดตาไม่ให้รับสื่อจากเกาหลีใต้ของคนฝั่งเกาหลีเหนือ หรือความพยายามเหมารวมชาติให้เป็นก้อนเดียวของเกาหลีใต้ ที่แม้จะอ้างว่าทำไปเพราะความอยู่รอด แต่ในอีกมุมก็อาจถูกมองว่าเป็นการเหมารวมแบบไม่เข้าใจบริบทและความต้องการที่แท้จริงของคนอื่นได้เหมือนกัน
หนังเรื่องนี้เหมือนจะพยายามกำลังจะบอกว่า แม้ว่าเรื่องการเมืองจะเป็นเรื่องของเขา (โซมาเลีย) แต่จริง ๆ แล้วการเมืองก็เป็นเรื่องของเรา (เกาหลีใต้-เกาหลีเหนือ หรือแม้แต่ประเทศไทย) ไปด้วย จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเส้นขนานของความเชื่อและความสัมพันธ์ทางการเมืองที่เคยเป็นแค่เส้นขนานที่ดูไม่มีหวังว่าจะได้พบกัน รวมทั้งพลังแห่งอุดมการณ์ความเชื่อทางการเมืองที่แข็งแกร่งและเต็มไปด้วยทิฐิมานะกันทั้งสองฝ่าย กลับต้องเจอเหตุการณ์ที่ทำให้เส้นขนานทั้งสองวิ่งมาตัดผ่านกันอย่างรุนแรง นั่นจึงทำให้คนดูจึงได้มองเห็นว่า สิ่งที่ตัดกันของอุดมการณ์ทั้งสองนั้นไม่ได้มีอะไรมากไปกว่าสิ่งเรียบง่ายที่เรียกว่า ‘ความสัมพันธ์’ และ ‘ความเป็นมนุษย์’ ของเพื่อนร่วมชาติ ที่แม้ว่าบางทีก็ดูจะจับต้องไม่ค่อยได้นักในสมรภูมิความแตกต่างทางการเมือง แต่มันกลับมาตัดกันได้ท่ามกลางสถานการณ์ที่อันตรายและไร้ความหวัง


Posted

in

by

Tags:

Comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *